MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) เครื่องมือที่หลายคนเคยได้ยินหรือได้ทดลองทำกันมาบ้าง แต่ในฐานะที่เป็น HR เครื่องมือนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารคนในทีม ในมิติต่าง ๆ ถึงแม้ว่า MBTI จะไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดผลและกำหนดบุคลิกภาพได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่มันเป็นอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการบริหารจัดการทีมได้ ในบทความนี้ empeo จะพามาดูกันว่า MBTI เนี่ยคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรสำหรับ HR บ้าง
MBTI คืออะไร? ทำไม HR ควรรู้จัก
MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์บุคลิกภาพโดยอิงจากทฤษฎีของ Carl Jung นักจิตวิทยาชื่อดัง ที่แบ่งบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลออกเป็น 16 ประเภทด้วยกัน โดยอิงจาก 4 กลุ่ม 8 ตัวอักษร ได้แก่
1. การใช้พลังงาน Extraversion (E) – Introversion (I)
Extraversion (E) คือ คนที่ชอบเข้าสังคม สนุกกับการพบปะผู้คน รู้สึกมีพลังเมื่ออยู่ท่ามกลางผู้คน
Introversion (I) คือ คนที่ชอบเก็บตัว มักจะชอบใช้เวลาอยู่คนเดียวหรือในกลุ่มเล็ก ๆ รู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้นเมื่อได้ใช้เวลากับตัวเอง
2. การรับรู้ข้อมูล Sensing (S) – Intuition (N)
Sensing (S) คือ คนที่อยู่กับความเป็นจริง รับรู้ข้อมูลด้วยข้อเท็จจริงและประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
Intuition (N) คือ คนที่ยึดมั่นกับวิสัยทัศน์ ใช้สัญชาตญาณและความรู้สึกในการรับรู้ข้อมูล มีแนวคิดที่เป็นนามธรรม
3. การตัดสินใจ Thinking (T) – Feeling (F)
Thinking (T) คือ คนที่ใช้ความคิดตัดสินใจโดยใช้ตรรกะและเหตุผล
Feeling (F) คือ คนที่ตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกและค่านิยมส่วนตัว
4. การใช้ชีวิต Judging (J) – Perceiving (P)
Judging (J) คือ คนที่มักจะชอบการวางแผนและการจัดการกำหนดและมีความเป็นระบบ
Perceiving (P) คือ คนที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
โดยลักษณะบุคคลลิกของแต่ละคนก็มีมากถึง 16 บุคคลิกจากใน 4 กลุ่มนี้ซึ่งแน่นอนในแต่ละบุคคลิก ก็จะมีรูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน สังคมที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ HR ที่จะสร้างสภาพแวดล้อมหรือการใช้ประโยชน์จากการใช้ MBTI ในการบริหารจัดการคนในองค์กร
ประโยชน์ของการใช้ MBTI ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
1. การคัดเลือกและสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน
- การวิเคราะห์ความเหมาะสมของผู้สมัคร HR สามารถประเมินว่าผู้สมัครมีบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานและวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่ ทำให้การตัดสินใจในการคัดเลือกผู้สมัครมีความแม่นยำมากขึ้น
- การสร้างสัมภาษณ์ที่มีประสิทธิภาพ HR สามารถตั้งคำถามที่เหมาะสมเพื่อให้เข้าใจบุคลิกภาพและวิธีการทำงานของผู้สมัครได้ดีขึ้น
2. การวางแผนพัฒนาความสามารถและการเติบโตของพนักงาน
- การระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนา MBTI ช่วยให้ HR สามารถวิเคราะห์และระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถวางแผนการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะได้ตรงจุด
- การให้คำแนะนำและการพัฒนาอาชีพ MBTI ช่วยให้ HR สามารถให้คำแนะนำและช่วยพนักงานวางแผนการเติบโตในอาชีพได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสนใจของพนักงาน
3. การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
- การมอบหมายงานที่เหมาะสม HR สามารถมอบหมายงานที่ตรงกับบุคลิกภาพและความสามารถของพนักงานแต่ละคนได้ ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการทำงาน
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การรู้จักบุคลิกภาพของพนักงานช่วยให้ HR สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและความสุขของพนักงาน
มาทำความรู้จัก 16 ลักษณะบุคคลิกและการบริหารให้เหมาพกับแต่ละบุคคลิกกันเถอะ
1. ISTJ (Introversion, Sensing, Thinking, Judging)
ลักษณะเด่น: รอบคอบ มีระเบียบวินัย ทำงานตามกฎเกณฑ์
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการความละเอียดและความแม่นยำ ให้คำแนะนำที่ชัดเจน และให้พวกเขารับผิดชอบงานที่ต้องการความต่อเนื่องและความรับผิดชอบสูง
2. ISFJ (Introversion, Sensing, Feeling, Judging)
ลักษณะเด่น: เป็นมิตร ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลหรือบริการ สนับสนุนความต้องการในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และให้คำชื่นชมและการยอมรับผลงาน
3. INFJ (Introversion, Intuition, Feeling, Judging)
ลักษณะเด่น: มีความคิดลึกซึ้ง เป็นมิตร และมีจินตนาการ
วิธีการบริหาร: สนับสนุนการทำงานที่มีความหมายและเกี่ยวข้องกับค่านิยมส่วนตัว ให้โอกาสในการทำงานเชิงกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์
4. INTJ (Introversion, Intuition, Thinking, Judging)
ลักษณะเด่น: มีวิสัยทัศน์ วางแผนอย่างรอบคอบ และชอบความท้าทาย
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ท้าทายและต้องการการวางแผนระยะยาว ให้โอกาสในการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ และสนับสนุนการทำงานที่ต้องการความเป็นอิสระ
5. ISTP (Introversion, Sensing, Thinking, Perceiving)
ลักษณะเด่น: ชอบสำรวจและทดลอง มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการแก้ไขปัญหาและการทดลองใหม่ ๆ ให้โอกาสในการทำงานที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่นในเวลาและวิธีการทำงาน
6. ISFP (Introversion, Sensing, Feeling, Perceiving)
ลักษณะเด่น: มีความอ่อนโยน ชอบงานสร้างสรรค์ และมีความเป็นอิสระ
วิธีการบริหาร: สนับสนุนการทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และความอิสระ ให้พวกเขามีพื้นที่ในการแสดงออกและทำงานตามแบบของตัวเอง
7. INFP (Introversion, Intuition, Feeling, Perceiving)
ลักษณะเด่น: มีจินตนาการและแรงบันดาลใจ มุ่งมั่นในค่านิยมส่วนตัว
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่มีความหมายและเกี่ยวข้องกับค่านิยมส่วนตัว ให้โอกาสในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือหรือพัฒนาผู้อื่น
8. INTP (Introversion, Intuition, Thinking, Perceiving)
ลักษณะเด่น: มีความคิดสร้างสรรค์และชอบวิเคราะห์ ชอบการค้นคว้าและสำรวจ
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการวิเคราะห์และการคิดเชิงลึก ให้โอกาสในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าและการพัฒนานวัตกรรม
9. ESTP (Extraversion, Sensing, Thinking, Perceiving)
ลักษณะเด่น: ชอบความท้าทายและตื่นเต้น มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน สนับสนุนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับคนและกิจกรรมต่าง ๆ
10. ESFP (Extraversion, Sensing, Feeling, Perceiving)
ลักษณะเด่น: มีความกระตือรือร้น ชอบการแสดงออกและการสร้างสรรค์
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้โอกาสในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์และการแสดงออก
11. ENFP (Extraversion, Intuition, Feeling, Perceiving)
ลักษณะเด่น: มีความคิดสร้างสรรค์ มีพลังงานสูง และชอบช่วยเหลือผู้อื่น
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการคิดเชิงสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น สนับสนุนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและการสร้างแรงบันดาลใจ
12. ENTP (Extraversion, Intuition, Thinking, Perceiving)
ลักษณะเด่น: ชอบการแก้ปัญหา ชอบความท้าทาย และมีความคิดสร้างสรรค์
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการคิดเชิงกลยุทธ์และการแก้ปัญหา ให้โอกาสในการทำงานที่ต้องการการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม
13. ESTJ (Extraversion, Sensing, Thinking, Judging)
ลักษณะเด่น: มีความเป็นผู้นำ ชอบการวางแผนและการจัดการ
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ต้องการการวางแผนและการจัดการ ให้โอกาสในการทำงานที่ต้องการความรับผิดชอบและการตัดสินใจ
14. ESFJ (Extraversion, Sensing, Feeling, Judging)
ลักษณะเด่น: เป็นมิตร ชอบการช่วยเหลือและการดูแล
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและการบริการ ให้คำชื่นชมและการยอมรับผลงานอย่างต่อเนื่อง
15. ENFJ (Extraversion, Intuition, Feeling, Judging)
ลักษณะเด่น: มีความเป็นผู้นำ มีความเห็นอกเห็นใจ และมีความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจ
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและการสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุนการทำงานที่ต้องการการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
16. ENTJ (Extraversion, Intuition, Thinking, Judging)
ลักษณะเด่น: มีวิสัยทัศน์ ชอบการวางแผนและการตัดสินใจ
วิธีการบริหาร: มอบหมายงานที่ท้าทายและต้องการการวางแผนระยะยาว ให้โอกาสในการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ และสนับสนุนการทำงานที่ต้องการความเป็นอิสระ
สรุป
MBTI เครื่องมือที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับ HR การรู้จักและเข้าใจ MBTI เป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยให้สามารถจัดการและพัฒนาพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้ MBTI สามารถช่วยในการคัดเลือกผู้สมัครงาน การพัฒนาทักษะพนักงาน และการสร้างทีมที่เข้มแข็งและมีความหลากหลาย
emconnect ฟีเจอร์สำหรับสรรหารับสมัครงาน จาก empeo ที่สามารถสร้างหน้ารับสมัครงาน ตำแหน่งงานที่เปิดรับ job description สมัครได้แบบออนไลน์ มาพร้อม AI ช่วยกรอกประวัติพนักงานแบบอัตโนมัติ และ empeo AI Score คะแนนที่วิเคราะห์ความ match ของผู้สมัครในตำแหน่งนั้น ๆ ระบบติดตาม hiring process แบบไม่ตกหล่น พร้อมการส่งแบบประเมินให้พนักงาน Test เพื่อประการพิจารณาทั้ง Skill Test รวมถึง MBTI Test
ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog: www.empeo.com/blog
Facebook: www.facebook.com/myempeo
Youtube: www.youtube.com/empeo