ปี 2021 ก็กำลังใกล้จะจบลง เราก็เลยถือโอกาสมาทบทวน HR trend 2021 ที่เกิดขึ้นในปีนี้กัน ก็นับได้ว่าปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานด้าน human resource มากๆ เพราะ Covid-19 เองนั้นทำให้บริษัทต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ การทำงานของ HR ในปีนี้จึงเต็มไปด้วยความท้าทาย เพื่อความสำเร็จของธุรกิจและการจัดการคน เราเลยได้รวบรวม trend ที่เกิดขึ้น เพื่อที่ HR ทุกท่านๆจะได้พร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2022 มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
สรุป 5 HR trend 2021 น่ารู้
1.การทำงานแบบ Hybrid
อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่า Covid-19 ก็อยู่กับเรามาเรียกได้ว่า 2 ปีเต็มๆแล้ว การทำงานของพนักงานออฟฟิศในปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น และนั่นก็ทำให้หลายบริษัทมีการประยุกต์ใช้การทำงานแบบ hybrid กันมากขึ้น เป็นทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ไม่ต้องเข้าออฟฟิศกันแบบเก่าๆอีกต่อไป แต่ละบริษัทเองก็มีการปรับรูปแบบการทำงานกันขนานใหญ่ พนักงานเองก็เริ่มคุ้นชินกับการทำงานในรูปแบบนี้ ทำให้การทำงานแบบ hybrid นี้มาแรงๆมากในช่วงปีนี้ ลองมาดูรูปแบบที่บริษัทใช้จัดการกัน
- พนักงานบางส่วนทำงานแบบ remote โดยดูจากฟังก์ชั่นงานและแบ่งทีมสลับกะกันเข้าบริษัท โดยมากบริษัทที่มักใช้รูปแบบนี้คือบริษัทที่ยังไม่สามารถไปทำงานแบบออนไลน์ได้ 100% อาจจะด้วยเหตุผลด้านเครื่องจักร รูปแบบการทำงาน หรือฮาร์ดแวร์ต่างๆ
- Work from home ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากๆ โดยที่ให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้เลย และพวกเขาก็จัดการในเรื่อง workflow ของตนเอง และอาจจะมีเข้าออฟฟิศบ้างเฉพาะเวลาที่จำเป็น
- Flexible hour รูปแบบนี้ก็เป็นอีกแบบที่กำลังมาแรง โดยใช้เวลาการทำงานแบบยืดหยุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงเวลาทำงานที่แออัด และอาจจะมีการอนุญาตให้ทำงานแบบ remote ได้ 1-2 วันต่อสัปดาห์ตามแต่ตกลง
2.Employee experience
อีกเทรนด์หนึ่งที่กำลังมาแรงมากๆเลยก็คือการที่พนักงานและบริษัทเองหันมาให้ความสนใจในเรื่องของ employee experience กันมากขึ้น ด้วยความที่ประสบการณ์ที่ดีนั้นจะช่วยให้พนักงานพึงพอใจในบริษัทมากขึ้น productivity ก็สูงขึ้นตาม นอกจากนั้นแล้วยังช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานในบริษัทและลดอัตราการลาออกของพนักงาน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลมากๆ
ตัวพนักงานเองก็หันมาให้ความสนใจกับประสบการณ์ด้านอื่นๆนอกเหนือจากการทำงานกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสวัสดิการบางอย่าง โปรแกรมอบรมที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ นอกจากนั้นแล้วโควิดเองก็ทำให้ประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของออนไลน์มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงบริษัทเองก็มีแนวคิดที่อยากให้ประสบการณ์ส่วนบุคคลดีมากยิ่งขึ้น ผ่านทางโปรแกรมต่างๆของบริษัท อย่างเช่นในเมืองนอกบางบริษัทมีการให้ rewards พนักงานเป็นเงิน เพื่อเอาไปใช้จัดปาร์ตี้กับครอบครัว หรือแม้กระทั่งมีการให้เงินสำหรับ vacation เพื่อให้พนักงานเอาไปใช้ในช่วงลาพักร้อนท่องเที่ยว
3.โลกแห่ง Data-driven HR
นอกจากจะเป็นจริงในปีนี้แล้ว นี่ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ HR จะโฟกัสไปอีกในหลายๆปีเป็นอย่างน้อย ย้อนกลับไปในยุคก่อนหน้าข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บอยู่บนระบบเอกสารทำให้ยากในการรวบรวมและนำมาประมวลผล แต่ในปัจจุบัน HR จำนวนมากเริ่มนำระบบเข้ามาเพื่อใช้งานในบริษัททำให้เมื่อต้องการ data มาทำการวิเคราะห์สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทำให้สามารถโฟกัสที่การเติบโตของบริษัทให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้ดี
ข้อมูลในหลายๆส่วนที่ช่วยในเรื่องของ people analytics ก็จะมีตั้งแต่ในเรื่องของการวิเคราะห์พฤติกรรมของพนักงาน ในเรื่องของการเข้างาน ขาด ลามาสาย ไปจนถึงวิเคราะห์เรื่องของ turnover rate ของพนักงานที่ทำให้ระบุปัญหาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วข้อมูลเองนั้นยังช่วยให้การประเมินประสิทธิภาพของพนักงานนั้นเห็นภาพรวมและรายละเอียดต่างๆ ที่แต่ก่อนอาจจะเคยมองข้ามไป เห็นถึงจุดแข็งของพนักงานนั้น และแน่นอนว่าด้วยข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในมือตามที่กล่าวมาเหล่านี้ การพัฒนาคนในองค์กรก็จะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากๆ
4.เพิ่มทักษะพนักงานต่อเนื่อง
โดยมากบริษัทมักจะเน้นที่ทักษะพนักงานก่อนรับเข้าทำงาน และเมื่อเข้ามาเป็นพนักงานแล้วก็มักจะละเลยในเรื่องของการพัฒนาทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นไม่ใช่ในปี 2021 นี้ ปัจจุบันบริษัทจำนวนมากเน้นเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืนและแน่นอนว่าในแง่มุมของ people development ก็เป็นส่วนที่สำคัญมากๆส่วนหนึ่ง บริษัทจำนวนมากมีการใช้กลยุทธ์ในการเพิ่มทักษะพนักงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ knowledge sharing, การจัดอบรม, การซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ไว้ให้พนักงาน และอื่นๆอีกมากมาย
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ในปี 2021 บริษัทหันมาให้ความสนใจกับทักษะพนักงานกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการที่โควิดเข้ามา การทำงานหลายๆอย่างจึงถูกปรับเปลี่ยน ตัวพนักงานเองก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการเพิ่มทักษะในการทำงานของตนเองกันมากขึ้น และนี่ก็รวมไปถึงทักษะในการใช้งานเครื่องมือใหม่ๆต่างๆด้วย
5.บริษัทให้ความสนใจกับสุขภาพจิตพนักงานกันมากขึ้น
วิกฤตโควิดทำให้พนักงานได้เห็นถึงความใส่ใจในสุขภาพจิตพนักงานมากขึ้นในหลายๆบริษัท ถ้าเป็นช่วงปีก่อนๆบริษัทมักจะแยกในเรื่องของสุขภาพจิตพนักงานกับเรื่องของการทำงานออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ในสภาวะของโรคระบาด การทำงานจากบ้าน สังคมของการทำงานที่เปลี่ยนไป กลายมาเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้บริษัทเข้ามาให้ความสนใจกับสุขภาพจิตพนักงานกันมากขึ้น และกำหนดนโยบายหลายๆอย่างที่เอื้อและช่วยลดความเครียดของพนักงานลง เช่นแม้จะเป็นการทำงานแบบ wfh แต่หัวหน้าหลายๆท่านก็จะไม่สั่งงานในนอกเวลางาน เพื่อไม่ให้พนักงานเกิดภาวะที่รู้สึกว่าต้องทำงานทั้งวันนั่นเอง
ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog: www.empeo.com/blog
Facebook: www.facebook.com/myempeo
Youtube: www.youtube.com/empeo