ในช่วงนี้เป็นฤดูกาลแห่งการขอคืนเงินภาษีจากกรมสรรพากร เหล่ามนุษย์เงินและฟรีแลนซ์ทุกคน ก็จะได้รับเอกสารจากทางนายจ้างนั่นก็คือ 50 ทวิ ที่เป็นเอกสารยืนยันการหัก ณ ที่จ่ายที่นายจ้างหักเงินไปทั้งปี ซึ่งเอกสารนี้เป็นเอกสารที่สำคัญทั้งต่อฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง และวันนี้ เราจะมาทำความรู้จัก 50 ทวิ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้มากขึ้น

50 ทวิ คืออะไร

50 ทวิ หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย คือเอกสารทางภาษีในรูปแบบหนึ่งใช้เป้นหลักฐานว่า ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ของผู้รับเงิน ตามมาตรา 50 ทวิแห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร และนำเงินที่หักไว้นำส่งกรมสรรพากร โดยที่ใน 50 ทวินั้นเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นขอคืนภาษีปลายปี

50 ทวิ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

50 ทวิ จะประกอบไปด้วยเอกสาร 2 ฉบับ โดยแต่ละฉบับจะต้องมีข้อความบนหัวกระดาษ ตรงตามที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้

  • ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
  • ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บ ไว้เป็นหลักฐาน”

เมื่อได้ฝั่งผู้รับได้เอกสาร 50 ทวิ หัก ณ ที่จ่ายมาแล้ว มาแล้ว จะต้องตรวจสอบความถูกต้องต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และแจ้งผู้จ่ายเงินทันทีหากข้อมูลเหล่านี้ผิดหรือขาดไป โดยมีจุดสังเกตดังนี้

  1. ชื่อ - ที่อยู่ – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย
  2. ชื่อ - ที่อยู่ – เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
  3. วัน เดือน ปี ที่จ่ายเงิน
  4. จำนวนเงินที่จ่าย
  5. จำนวนเงินที่หักเพื่อนำส่งกรมสรรพากร
  6. ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

กรณีที่เป็นพนักงานบริษัท ทางบริษัทจะนำรายได้ทั้งปีมาประมาณการ จากนั้นจะหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนที่พนักงานแจ้งให้ทราบ แล้วหารเฉลี่ยจำนวนเงินที่หักออกมาเป็นรายเดือน แล้วจึงนำส่งให้สรรพากรในแต่ละเดือน แต่จะออกเอกสาร 50 ทวิให้ในช่วงปลายปี-เดือนมกราคม นอกจากนี้ ใน 50 ทวิจะมีรายละเอียดของเงินสมทบประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งพนักงานบริษัทต้องตรวจสอบจำนวนเงินตรงนี้เพิ่มเติม เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนได้อีกด้วย

50 ทวิ สำคัญอย่างไร

1. ใช้เป็นหลักฐาน

50 ทวิ คือเอกสารสำคัญที่ยืนยันว่า ผู้จ่ายเงินได้หักเงินของผู้รับเงินไปจริง และนำเงินนั้นนำส่งกรมสรรพากร ช่วยในการทำบัญชีและยื่นภาษีของทั้งฝั่งผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน นอกจากนี้ ทั้งฝั่งผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน ยังสามารถใช้ 50 ทวิได้ในกรณีที่มีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากร เป็นตัวช่วยยืนยันรายได้ทั้งปีของผู้รับเงิน และยืนยันรายจ่ายของผู้ที่จ่ายเงิน

2. ใช้ในการยื่นขอคืนภาษี

ในช่วงสิ้นปีที่มีการขอคืนภาษีนั้น 50 ทวิจะเป็นเอกสารที่ช่วยสรุปให้เห็นว่า ผู้รับเงินมีรายได้เท่าไร มีลดหย่อนเท่าไร และถูกหักเงินไปเท่าไร หากพบว่าเงินที่ถูกหักไปเกินกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายภาษีจริง ก็สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอคืนภาษีได้

50 ทวิ ขอได้ที่ไหน

กรณีพนักงานรับเงินเดือน

กรณีนี้ที่ผู้รับเป็นพนักงานบริษัท รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า หรือค่าบำเหน็จ คุณสามารถไปขอ 50 ทวิได้จากนายจ้าง โดยที่นายจ้างจะออก 50 ทวิให้ในช่วงปลายปี แต่ไม่เกินวันที่ 15 กุมภาพันธ์ แต่ถ้าลูกจ้างออกจากงานระหว่างปี ทางนายจ้างต้องออก 50 ทวิให้ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่หลังวันที่จากที่ออกจากงาน

กรณีฟรีแลนซ์

สำหรับผู้ที่เป็นฟรีแลนซ์ทำงานอิสระ สามารถไปขอ 50 ทวิ หัก ณ ที่จ่ายได้จาก ผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะถูกหักเ ณ ที่จ่ายเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของค่าใช้จ่าย เช่น ค่าขนส่งหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ค่าโฆษณาหักภาษี ณ ที่จ่าย 2% ค่าจ้างทำของ จ้างเหมาบริการต่าง ๆ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แต่หากยอดไม่ถึง 1,000 บาท จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

กรณีได้รับดอกเบี้ย

กรณีที่ผู้รับได้รับจ่ายดอกเบี้ยต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินส่วนแบ่งกำไร เงินปันผล ค่าเช่าทรัพย์สินที่ไม่รวมถึงอาคาร ค่าโฆษณา เงินรางวัลชิงโชค รวมถึงได้รับเงินจากวิชาชีพ สามารถไปขอทวิ 50 ได้จากคนที่จ่ายเงิน ซึ่งจะออกเอกสารให้หลังจากที่จ่ายเงินทันที

ไม่มี 50 ทวิ ยื่นภาษีได้ไหม

การยืนภาษีเป้นหน้าที่ของเราทุกคน ไม่ว่าจะมีรายได้ถึงเกณฑ์หรือไม่ถึงเกณฑ์ก็ตาม และแม้ทวิ 50 จะเป็นหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ใช่หลักฐานประเภทเงินได้ แต่หากต้องการจะยื่นภาษี ก็ยื่นได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คุณถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ทว่าทางนายจ้างกลับไม่ยอมออกทวิ 50 ให้ ให้ติดต่อฝ่ายบัญชีหรือทรัพยากรบุคคลได้ แต่หากยังเพิกเฉยไม่ยอมออกทวิ 50 ให้อีก ก็ถือเป็นการทำผิดกฎหมาย สามารถรวบรวมสลิปเงินเดือนและหลักฐานอื่น ๆ แจ้งให้สรรพากรมาตรวจสอบได้เลย

ออก 50 ทวิอย่างไร ให้ถูกต้อง ไม่ให้ถูกสรรพากรเรียกภาษีย้อนหลัง

ออกทวิ 50 ทันที เมื่อมีการจ่ายเงินได้ ไม่ทำล่วงหน้าหรือย้อนหลัง

เพื่อเป็นการป้องกันการลืม ผู้ว่าจ้างควรออกทวิ 50 ให้กับลูกจ้างทันที ไม่ควรออกล่วงหน้าหรือย้อนหลัง เพราะจะไปกระทบกับการทำบัญชีและรอบการเสียภาษี หากเป็นพนักงานบริษัท เมื่อออกจากบริษัทภายใน 1 เดือนควรตามทวิ 50 ได้เลย หรือหากเป็นฟรีแลนซ์ก็ให้ขอทวิ 50 ทันทีที่นายจ้างจ่ายเงิน หากลืมแล้วอาจจะถูกสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง และพลาดโอกาสขอคืนเงินภาษีได้

นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายในเวลาที่กำหนด

เมื่อนายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่จะนำเงินนั้นส่งสรรพากร ซึ่งหากเป็น ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 จะต้องนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป และถ้ายื่นผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถยืดเวลาออกไปได้ถึงวันที่ 15 และเช็กย้อนหลังได้ 3 วัน

ไม่ออกทวิ 50 ให้กับรายจ่ายที่ไม่เข้าข่ายหักภาษี

ก่อนการออกทวิ 50 ต้องมีการพูดคุยกันให้ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างว่า เงินที่จ่ายนั้นเป็นเงินได้ประเภทใด เพราะการลงเงินได้คลาดเคลื่อนหรือผิดประเภท จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำภาษี เนื่องจากเงินได้แต่ละแบบ หักค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน นำไปคำนวณภาษีต่างกัน และนายจ้างต้องมีความรู้ด้วยว่า มีรายจ่ายไหนที่ไม่เข้าข่ายเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่สามารถหักเงินได้ เช่น มีการจ้างทำนามบัตร 800 บาท จะไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เพราะถือเป็นยอดเล็ก ๆ ที่ไม่ถึง 1,000 บาทและเป็นการทำครั้งเดียว นอกจากว่ายอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้นจะเป็นยอดเล็กที่ต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าบริการโทรศัพท์

ตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียด

เมื่อได้ทวิ 50 มาแล้ว ฝั่งลูกจ้างต้องตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดทั้งชื่อ ที่อยู่ ของทั้งตันเองและฝั่งนายจ้าง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมไปถึงจำนวนเงินที่จ่าย และจำนวนเงินที่หักด้วย เพื่อให้เข้าใจตรงกันและไม่เกิดข้อผิดพลาดด้านภาษี

ตัวอย่าง 50 ทวิ สำหรับฟรีแลนซ์

ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:    www.empeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

50 ทวิ


You may also like

>