คำศัพท์ HR นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญค่อนข้างมาก การรู้ถึงศัพท์ต่าง ๆ ที่มีการใช้อยู่เป็นประจำจะช่วยให้การสื่อสารระหว่างหน่วยงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เอาจริง ๆ แล้วคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ HR นั้นก็มีมากมายเต็มไปหมดแต่วันนี้ empeo เราเตรียมคำศัพท์ HR ที่เพื่อน ๆ จะได้พบเห็นกันมากในการทำงาน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยดีกว่า
12 คำศัพท์ HR น่ารู้
1.Headhunter – เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เดินเรื่องเกี่ยวกับการจัดสรรบุคคลให้กับบริษัทต่าง ๆ โดย headhunter นั้นจะช่วยทำการ connect คนที่กำลังหางานให้กับบริษัทที่มีความต้องการรับตำแหน่งงาน โดยเบื้องต้น headhunter จะทำการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้น ทำการสัมภาษณ์ว่าเหมาะสมไหมกับตำแหน่งที่เปิดรับก่อนจะทำการส่งให้ทางบริษัทต้นสังกัดพิจารณา และ headhunter เองนั้นแต่ละที่ก็จะมีความเชี่ยวชาญในการหาคนในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไป
2.HR Business Parter (HRBP) – ตำแหน่งงานนี้ถือเป็นตำแหน่งงานที่องค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น โดยแทนที่จะมอง HR เป็นเพียงแค่งาน admin function ตำแหน่งนี้จะทำงานแบบ active และต้องเพิ่มความเข้าใจในกลยุทธ์ของธุรกิจ มีการสื่อสารกับพนักงานในระดับ management เพื่อทำความเข้าใจและเอาแนวทางมาทำให้สอดคล้องกับการจัดการพนักงาน ดังนั้นแล้วตำแหน่งนี้จึงมักจะต้องการคนที่มีประสบการณ์
3.Talent acquisition – คือโปรเซสของการมองหาและทำให้ได้มาซึ่ง talent เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่องค์กรกำลังต้องการอยู่ หาดูเผิน ๆ คำ ๆ นี้ก็อาจจะไม่ได้แตกต่างอะไรกับการหาคน แต่จริง ๆ แล้ว talent acquisition นั้นจะมองไปที่กลยุทธ์ระยะยาวในการจัดการกับกระบวนการสรรหาคนเลยทีเดียว ซึ่งในบางองค์กรเองนั้นก็จะมีทีมดูแลด้านนี้โดยตรงเลย
4.Employee engagement – หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร หรือในนิยามก็คือความผูกพันและมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีต่องานและองค์กร รวมไปถึงการให้ความร่วมมือกับองค์กรในทุก ๆ ด้านอย่างสมัครใจและเต็มใจ รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างแท้จริง
5.HRIS – ย่อมาจาก Human Resource Information System หรือกล่าวคือระบบที่ถูกใช้โดย HR team เพื่อใช้จัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน และระบบยังจะช่วยในการรวบรวมข้อมูลและทำออกมาเป็นรายงานเพื่อให้เห็น insight ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
6.DEI&B - ย่อมาจาก Diversity, Equity, Inclusion และ Belonging โดยนิยามของคำนี้ก็จะเป็นไปในแต่ละตัวเลย ตัวแรกคือเรื่องของความหลากหลายการยอมรับในเรื่องต่าง ๆ อย่างเปิดใจ ความเสมอภาคที่เน้นเรื่องความเท่าเทียมกันในมนุษย์ทุกคน การผนวกรวมเข้าด้วยกันคือการที่ไม่ว่าจะมีความแตกต่างใด ๆ ก็จะทำได้ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
7.Performance review – การทำการประเมินพนักงาน โดยการทบทวนเรื่องราว ๆ ต่าง ๆ ของพนักงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยดูเรื่องของผลงานที่ผ่านมาเทียบกับเป้าหมาย พนักงานมีพฤติกรรมอะไรที่โดดเด่น จุดแข็ง จุดอ่อนเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาผลงานในโอกาสถัด ๆ ไป
8.KPI and OKR – สองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เอาไว้ชี้วัดความสำเร็จของงาน โดย KPI มาจาก Key Performance Indicator และ OKR มาจาก Objective and Key Result โดยทั้ง 2 ตัวนั้นแม้จะช่วยในการวัดผลลัพธ์งาน แต่ก็มีหลักการใช้ที่แตกต่างกัน โดย KPI เน้นในเรื่องของการทำผลลัพธ์ให้ได้ตามสิ่งที่ได้ตั้งเอาไว้จากทางหัวหน้า ในขณะที่ OKR เป็นการตั้งจากฝั่งของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง และดูเรื่องเป้าหมายด้วย
9.Turnover rate - คือเปอร์เซ็นที่จะบ่งบอกว่ามีคนลาออกจากการเป็นพนักงานมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาที่กำหนด โดยมากมักจะวัดกันเป็นช่วงปี โดยมีสูตรคำนวณดังนี้คือ จำนวนคนที่ลาออก/[(พนักงาน ณ ช่วงเริ่มต้น+พนักงาน ณ ช่วงท้าย)/2])x100 จะออกมาเป็น Turnover rate % นั่นเอง
10.VTO (Voluntary/Volunteer time off) – ประเภทของการลาที่มีแค่เฉพาะในบางบริษัท โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการ manage พนักงานกับ workload ของงาน โดยเมื่อใดก็ตามที่พนักงานมีมากเกินกว่างานที่มี พนักงานนั้นจะได้รับสิทธิ์ในการลางานได้โดยไม่กระทบกับสถานะ
11.CBI: Competency Based Interview - เป็นกระบวนการสัมภาษณ์งานเพื่อให้เลือกคนเข้ามาในตำแหน่งนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเจาะลึกถึงเนื้องาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงจากประสบการณ์โดยตรง และเป็นสิ่งที่ได้ทำจริง ๆ ไม่ใช่แค่ฟังมาเพียงเดียวเท่านั้น
12.Provident Fund – หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวนี้จะเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าช่วยในเรื่องการออมเงินของพนักงาน โดยมีหลักการทำงานคือจะเป็นการหักเปอร์เซ็นต์จากเงินเดือนของพนักงาน โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่ 1-15% และทางฝั่งบริษัทก็จะส่งเงินสมทบในจำนวนที่เท่ากัน หรือในเพดานสูงสุดที่ถูกกำหนดไว้เป็นเปอร์เซ็นต์ พอพนักงานลาออกหรือเกษียณอายุก็จะได้รับผลตอบแทนตามที่เราได้ลงทุนไว้
ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog: www.empeo.com/blog
Facebook: www.facebook.com/myempeo
Youtube: www.youtube.com/empeo