การเข้างานสายนิดหน่อยอาจจะดูเป็นเรื่องที่ไม่ใหญ่เท่าไรสำหรับองค์กรในภาพรวม แต่ถ้าหากทำจนเป็นประจำแล้วล่ะก็จะกลายเป็นนิสัยที่ยากจะแก้ไข และแน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อบริษัทอย่างแน่นอน จากการสำรวจพบว่ามีพนักงานจำนวนมากถึง 25% ที่มีปัญหากับการเข้างานให้ตรงเวลา วันนี้ empeo เราเลยจะมาชี้ให้เห็นถึงปัญหาถ้าหากพนักงานมาสายกันเป็นประจำ
เวลาทำงานลดลงอย่างมีนัยยะ
หากเรามองย้อนกลับไปที่การทำงานวันละ 8 ชั่วโมงหรือ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากพนักงานเข้างานสายเพียงวันละ 10 นาที นั่นหมายความว่าในแต่ละอาทิตย์ บริษัทได้สูญเสียเวลาทำงานไปถึง 50 นาทีต่อวัน รวมๆแล้วมากกว่า 200 นาทีต่อเดือน ซึ่งเป็นเวลาที่มากพอสมควรเลยทีเดียว แต่หากพนักงานของคุณมีความรับผิดชอบเพียงพอที่จะทำงานเลทให้เท่ากับเวลาที่มาสาย ตรงนี้ก็อาจจะไม่เป็นความเสียหาย แต่ยังไงก็อาจจะต้องระมัดระวังไว้ เพราะสำหรับคนที่มาสายแล้วนั้นอาจจะเริ่มจากไม่กี่นาที จนพัฒนามาเป็นเวลา 10 นาที 15 นาทีก็เป็นได้
ส่งผลลบต่อทีม
เมื่อมีคนในทีมมาสายย่อยส่งผลต่อคนในทีมอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาการทำงานที่พนักงานรู้สึกว่าโดนเอาเปรียบ เข้างานไม่เท่ากัน แล้วยังมีปัญหาในเรื่องของหากต้องมีการประชุมทีม หรือมีการทำงานที่ต้องเกี่ยวโยงกันบ่อยๆก็อาจจะทำให้ความรู้สึกลบค่อยๆสั่งสมกับคนในทีมก็เป็นได้ และสำหรับบริษัทเองนั้นหากไม่รีบจัดการปัญหา พนักงานโดยรวมที่เข้างานตรงเวลาก็อาจจะเริ่มทำพฤติกรรมเช่นเดียวกับคนส่วนน้อย
พนักงานปลูกฝังนิสัยไม่ดีให้กับตนเอง
สิ่งหนึ่งที่ควรมีไม่ว่าพนักงานคุณจะทำงานในตำแหน่งอะไรก็ตาม สิ่งนั้นก็คือวินัย จริงอยู่ว่าพนักงานคนหนึ่งอาจจะเป็นคนเก่งที่ทำงานดีมากๆ แต่หากพฤติกรรมมาสายเป็นประจำ ก็จะส่งผลโดยตรงกับวินัยในตนเอง และนอกจากนี้ยังทำให้หัวหน้างานที่เพิกเฉยต่อปัญหาถูกมองว่าเป็นคนที่จัดการปัญหาไม่ได้อีกเช่นเดียวกัน
บริหารคนได้ยากขึ้น
จากข้อ 1-3 ผู้อ่านคงจะเริ่มเห็นแล้วว่าปัญหาจากการที่มาสายแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยมากๆ แต่พอพิจารณาในหลายๆด้านอย่างถี่ถ้วนแล้วกลับพบว่าส่งผลกระทบในหลายๆด้าน และสำหรับ HR เองนั้นหากเพิกเฉยต่อปัญหาเช่นนี้ก็จะทำให้คนในบริษัทเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี
ผลเสียต่อลูกค้า
แน่นอนว่าทุกๆบริษัทบย่อมมีสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกันออกไป และยิ่งหากพนักงานที่มาสายเป็นประจำเป็นส่วนที่ต้องรับผิดชอบดูแลลูกค้าแล้วล่ะก็ย่อมทำให้ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับตกลงไปไม่มากก็น้อยอย่างนานอน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับคำตอบช้ากว่าที่คาดหวังไว้ หรือการบริการที่ต้องรอประสานงานจากแผนกอื่นที่มาสายก็ตามนั่นเอง
อย่างไรก็ตามความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้นตามที่กล่าวมาคงเป็นเพียงแนวทางทางหนึ่งที่เหมาะสำหรับบริษัทที่มีการเข้างานอย่างเป็นเวลาเท่านั้น หากบริษัทคุณมีการเข้างานได้แบบยืดหยุ่น ปัญหาที่กล่าวมาก็อาจจะยังมีอยู่ในแง่ของการประสานงาน หากคุณยังไม่เคยอ่านบทความเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการ flex hour จากทางเรา ลองคลิกอ่านได้เลยที่นี่
ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog: www.myempeo.com/blog
Facebook: www.facebook.com/myempeo
Youtube: www.youtube.com/empeo