Learning Management System หรือที่เราอาจจะคุ้น ๆ หูกันในชื่อว่า LMS ก็กลายมาเป็นระบบที่องค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญมากไม่แพ้กับระบบอื่น ๆ ก็เพราะว่าโลกธุรกิจในทุกวันนี้นั้นต่างตระหนักกันดีว่าทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในบริษัทคือทรัพยากรบุคคล ทำให้เกิดคำถามว่าเมื่อจ้างคน ๆ หนึ่งเข้ามาในบริษัทนั้น เมื่อเวลาผ่านไปจะทำยังไงเพื่อให้ทักษะของพนักงานยังคงพร้อมในการแข่งขัน และนี่ก็คือที่มาว่าทำไมเจ้า LMS จะเข้ามาช่วยในจุดนี้นั่นเอง
Learning Management System คืออะไร?
Learning Management System หรือที่เรารู้จักกันในชื่อย่อ LMS นั้นก็เป็นระบบจัดการการเรียนรู้ที่องค์กรนำมาใช้ในการบริหารจัดการเรื่องของการอบรม คอร์สเรียนต่าง ๆ โดยรูปแบบนั้นก็จะมีทั้งเนื้อหาบทเรียน คอร์สเรียนต่าง ๆ รวมไปถึงแบบทดสอบวัดความรู้พนักงาน โดยเจ้า LMS นี้จะมีจุดเด่นที่การนำเอา content ต่าง ๆ มาอยู่ในรูปแบบของ digital content ที่ให้พนักงานสามารถเข้ามาเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ได้ตามต้องการ ด้วยความสามารถที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ก็ทำให้ช่วยจัดการในเรื่องของ training process ได้เป็นอย่างดี และทางฝั่งองค์กรเองก็เห็นถึงภาพรวมและนำไปใช้ในการประเมินแผนการพัฒนาคนได้
องค์กรแบบไหนที่เหมาะกับการใช้ Learning Management System
จริง ๆ แล้วองค์กรเกือบจะทุกประเภทสามารถใช้ LMS ในการช่วยบริหารจัดการการเรียนรู้สำหรับพนักงาน แต่จริง ๆ แล้วเจ้าตัว LMS นี้ไม่ได้จำกัดแค่การใช้งานกับบริษัททั่ว ๆ ไปเท่านั้น ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรประเภทอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
- โรงเรียน
- โรงงานที่ต้องเทรนนิ่งพนักงาน
- องค์กรแบบไม่เน้นผลกำไร
นอกจากจะใช้ในการอัพสกิลแล้ว หลาย ๆ อุตสาหกรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอบรมพนักงานใหม่เพื่อให้เข้าใจมาตรฐานในการทำงานร่วมกัน LMS ก็จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้โดยการกำหนดคอร์สเรียนพื้นฐานที่พนักงานในแต่ละส่วนงานต้องเข้ารับการอบรมและต้องผ่านหลักสูตร และทางด้านหัวหน้างานก็สามารถคอยเข้ามาติดตามความคืบหน้า และเห็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้
ฟังก์ชั่นที่ Learning Management System ต้องมี มีอะไรบ้าง?
ด้วยความที่ LMS นั้นต้องสามารถจัดการในเรื่องของการสร้างคอร์ส มีแชนลแนลให้เข้าเรียนได้ รวมไปถึงเรื่องของการติดตามต่าง ๆ ดังนั้นแล้ว LMS จึงต้องมีส่วนประกอบหลักหลาย ๆ ส่วนด้วยกัน นอกจากส่วนที่กล่าวมาแล้วเรายังอาจแบ่ง LMS ออกได้เป็นอีก 2 ส่วนคือในส่วนของแอดมินที่ HR จะเป็นคนคอย manage คอร์สเรียนทั้งหมด และแปลผลข้อมูลผู้เรียน ในอีกส่วนหนึ่งก็จะเป็นส่วนของผู้ใช้งานที่จะต้องเข้าถึงคอร์สเรียนต่าง ๆ ได้ ดังนั้นแล้วฟีเจอร์ที่สำคัญจะสามารถแบ่งได้ประมาณดังต่อไปนี้
- การจัดการคอร์ส อันนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ระบบต้องสามารถสร้างคอร์สเรียน กำหนดเนื้อหาและลำดับภายในคอร์สนั้น ๆ ได้
- ช่องทางการเรียนรู้ LMS ที่ดีนั้นนอกจากจะรองรับการเรียนแบบออนไลน์แล้ว จะต้องสามารถมีช่องทางการเรียนรู้ให้กับพนักงานได้หลากหลาย เช่นผ่านทางเว็บ browser หรือเรียนผ่าน app ได้
- Content ที่รองรับ คอร์สเรียนของแต่ละองค์กรนั้นย่อมมีความแตกต่างกันทั้งเนื้อหาและรูปแบบการสอน การรองรับไฟล์หลายรูปแบบ เช่นวีดิโอ รูปภาพ ไฟล์เสียงต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
- แบบทดสอบ ถือเป็นฟีเจอร์ที่จำเป็นตั้งแต่แบบทดสอบก่อนเรียน ควิซระหว่างเรียนไปจนถึงสอบวัดผลหลังเรียนจบ ก็จะช่วยให้สามารถประเมินได้ว่าพนักงานนั้นมีความรู้ความเข้าใจในตัวบทเรียนมากน้อยแค่ไหน
- Learning path การกำหนดแนวทางการเรียนรู้ให้กับพนักงานในแต่ละส่วนได้ ก็จะช่วยให้การทำ development ทำได้ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น
- ระบบติดตาม progress และรายงาน ต้องสามารถติดตาม progress การเรียนรู้ได้ พนักงานต้องรู้ว่าตนเองเรียนไปได้เท่าไรแล้วในคอร์ส ๆ นี้ และระบบยังควรจะสรุปรายงานต่าง ๆ ที่สำคัญเช่น จำนวนคนเข้าเรียน ระดับคะแนนนต่าง ๆ ออกมาให้ทาง HR สามารถเอาไปใช้ในการวัดผลได้
- ประกาศนียบัตร หลังจากเรียนจบระบบควรรองรับในเรื่องของการออกใบประกาศ และสามารถออกแบบให้เข้ากับธีมของบริษัทได้
หลังจากอ่านบทความนี้จบไป ทุกคนคงจะเข้าใจถึงระบบ Learning Management System กันมากขึ้นว่ามันจำเป็นสำหรับองค์กรอย่างไรบ้าง และหวังว่าจะช่วยให้ทุกคนที่ลังเลกับการหาระบบ LMS มาใช้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog: www.empeo.com/blog
Facebook: www.facebook.com/myempeo
Youtube: www.youtube.com/empeo