performance management

Performance management นั้นเป็นสิ่งที่องค์กรจำนวนมากมุ่งเน้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันที่ต้องมุ่งเน้นในเรื่องการบริหารคน การจัดการเรื่องประสิทธิภาพของผลงานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่รู้ไหมว่าแม้ว่าบริษัทจะพยายามทำเรื่องนี้มากเท่าใด แต่ที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ กลับมีไม่มาเท่าใดนัก ระบบประเมินประจำปีที่ออกแบบกะจะให้ตอบโจทย์ แต่หลาย ๆ ครั้งกลับเป็นตัวที่ทำให้ engagement ของพนักงานแย่ลง มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่? empeo เราจะมาพาทุกท่านไปหาคำตอบกันเลยวันนี้

Performance management คืออะไรกันนะ?

สำหรับคำว่า performance management นั้น คนทำงานคงจะคุ้นเคยกันดี เพราะต้องเจอกันอยู่เป็นประจำ แต่หากจะให้เรานิยามความหมายนั้น คงจะไม่ใช่แค่การประเมินเป็นแน่ แต่เป็นกระบวนการหลักในการจัดการบริหารผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้เกิดขึ้น เรามักจะสับสนกับการประเมินประจำปี สาเหตุนึงเป็นเพราะว่าการประเมินประจำปีเป็นส่วนหนึ่งของการทำ performance management นั่นเอง

โดยปกติแล้วการทำ performance management นั้นเรามุ่งหวังถึงผลลัพธ์สำคัญ 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือการประเมินถึงประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละบุคคล เพื่อนำมาในเรื่องที่ 2 ก็คือการจัดการกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท ซึ่งหากเราไม่รู้ว่าคนของเราอยู่ในระดับใดแล้ว ย่อมทำให้การจัดการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้นทำได้ยาก

ทำไมการทำ performance management ที่ดีถึงสำคัญ

นอกเหนือไปจากเรื่องของการรู้ประสิทธิภาพพนักงานดังที่เราได้กล่าวไปแล้ว จริง ๆ แล้วเจ้าตัว performance management ที่มีการจัดการดี ๆ ก็ยังมีประโยชน์อีกหลายประการที่ HR และผู้บริหารเองอาจจะคาดไม่ถึง

  • พนักงานรู้สึก engage มากขึ้น ด้วยความที่การทำ performance management นั้นจะไม่ได้เน้นในเรื่องของการประเมินเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการมุ่งสู่เป้าหมายด้วย การจัดการที่ดี จึงทำให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น มากกว่าแค่การประเมินผลประจำปี ปีละเพียงหนึ่งครั้ง
  • ช่วยเรื่องการรักษาพนักงานเก่ง ๆ พนักงานที่ได้รับ feedback และรู้ว่าตนเองต้องปรับปรุงตรงไหน ได้มีโอกาสพูดคุยกับฝ่ายบริหารมากขึ้น พนักงานจะเห็นว่าผู้บริหารมีการใส่ใจในการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานอย่างจริงจัง พนักงานในกลุ่มท้อปก็จะมีแนวโน้มที่พวกเขาจะลาออกน้อยกว่าบริษัทที่ไม่มีในเรื่องตรงนี้เลย
  • เพิ่มทักษะความเป็นผู้นำ หนึ่งในทักษะของความเป็นผู้นำคือการรู้จักตัวเอง รู้จักทีมงาน และการโฟกัสไปสู่เป้าหมาย การที่มีการประเมิน การจัดการเรื่องผลงานพนักงานอยู่ตลอดเวลา ช่วยให้คำแนะนำพนักงาน นอกจากจะช่วยพนักงานให้พัฒนาตนเอง ยังเป็นเหมือนการลับสกิลความเป็นผู้นำให้กับหัวหน้าและผู้จัดการต่าง ๆ ด้วย

แนวทางการสร้าง performance management  ที่ยอดเยี่ยม

อย่างที่เรากล่าวไปตั้งแต่ต้นว่าการที่มีแค่การประเมินพนักงานนั้นยังไม่นับว่าเรามีการจัดการเรื่อง performance พนักงานที่ดี เพราะหากเราทำแค่เพียงการประเมิน เพื่อให้มีอะไรอ้างอิงไปใช้สำหรับการปรับเงินเดือนประจำปีเพียงแค่นั้นแล้วล่ะก็ บริษัทย่อมไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรอย่างแน่นอน เราเลยได้ลิสท์แนวทางมาให้ดังนี้

1.ต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร

ทุก ๆ ครั้งที่ต้องมีการจัดการประเมินหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประสิทธิภาพพนักงาน การรู้ว่าเป้าหมายคืออะไรเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้เราโฟกัสได้ถูกจุดแล้ว การให้ feedback อะไรต่าง ๆ ก็จะทำให้พนักงานไปสู่เป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น

2.ให้ feedback อย่างสม่ำเสมอ

หลาย ๆ ครั้งพนักงานในระดับหัวหน้างานเอง มักจะถูกแบ่งเวลาไปจาก task งานและการติดตามเรื่องต่าง ๆ จนมักจะละเลยการให้ feedback กับพนักงานไป ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว feedback นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการพัฒนาประสิทธิภาพพนักงาน เพราะพนักงานโดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตัวเอง อยู่ในจุดไหน ความคาดหวังที่ทั้งหัวหน้าและองค์กรมองหาเป็นเช่นไร บ่อยครั้งกว่าจะได้ feedback ก็มักจะเป็นช่วงเวลาของการประเมินประจำปี ซึ่งการให้ feedback นั้นทำได้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องรอช่วงของการประเมิน

3.Constructive feedback

การให้ feedback บางครั้งก็ไม่ได้เป็นเรื่องดีเสมอไป หาก feedback นั้นไม่ได้ช่วยให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา เช่นการให้ feedback ในเชิงว่ากล่าวติเตียน หรือเป็นการให้ในลักษณะที่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ฟีดแบคที่ทางหัวหน้าควรมุ่งเน้นควรเป็นในแนวทางที่ทำให้คนในทีมได้รับการพัฒนา ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแนะแนวทางการแก้ไข รวมถึงวิธีคิดต่าง ๆ

4.ให้เวลากับการประเมินมากขึ้น

หลาย ๆ บริษัทเองให้ความสำคัญกับการประเมินประจำปีเพียงอย่างเดียว แต่โดยปกติแล้ว ระยะเวลา 1 ปีนั้นถือว่านานเกินไป สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในรูปแบบประจำปีก็คือ พนักงานไม่ได้รับการประเมินตามจริง และหลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปี ไม่ได้มีการนำมาแก้ไขอย่างจริงจัง หรือแม้กระทั่งกว่าจะรู้ปัญหาก็พบว่าช้าเกินกว่าที่จะแก้ไขได้แล้ว ในส่วนของการประเมินเองนั้นในความถี่ที่มากขึ้นโดยอาจมองที่รายไตรมาสก็จะช่วยให้พนักงานเข้าใจตนเองมากขึ้นอีกด้วย

5.เทรนนิ่งและ reward

อีกส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือในโปรแกรมของ performance management ได้มากเลยก็คือการจัดเทรนนิ่งให้กับพนักงาน โดยเมื่อเรารู้ถึงประสิทธิภาพของพนักงานจากระบบที่ถูกเซ็ตไว้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ก็เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องช่วยให้พนักงานยกระดับตัวเองไปอีกขั้น การส่งเสริมให้พนักงานได้รับการเทรนนิ่ง เข้าร่วมคอร์สเรียนต่าง ๆ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้พนักงานเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างรวดเร็ว และสำหรับพนักงานที่มีผลงานที่ยอดเยี่ยมเราก็ยังช่วยส่งเสริมได้โดยการมี reward และ recognition ต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบตัวเงินและคำชมเชย เพื่อที่จะได้สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง

ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:    www.empeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

performance management, pms


You may also like

>