iBeacon กับ Beacon เชื่อได้เลยว่าสำหรับคนที่กำลังมองหา beacon จะต้องเกิดความสงสัยมากแน่ๆว่าเจ้าสองตัวนี้มันมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร แต่เรามีข่าวดีจะบอกครับ ไม่ใช่แค่คุณคนเดียวที่สับสนกับคำสองคำนี้ เพราะเจ้าสองคำนี้นั้นคนส่วนใหญ่ใช้กันผิด บางทีเอาไปใช้แทนกันโดยนึกว่าเป็นตัวเดียวกันเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นแล้ววันนี้เราเลยตั้งใจออกบทความนี้มาเพื่ออธิบายว่าเจ้า iBeacon และ beacon นั้นแท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่
iBeacon คือวิธี config beacon ไม่ใช่ตัว beacon เอง!
iBeacon จริงๆแล้วเป็นเทคโนโลยีและ trademark จากทางบริษัท Apple ซึ่งหากกล่าวง่ายๆก็คือจะคลอบคลุมในเรื่องของ Beacon ecosystem ทั้งหมด เช่นซอฟต์แวร์ สเปคและแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งแทบจะไม่มีความเกี่ยวโยงกับตัวผลิตภัณฑ์ beacon ตรงๆเลยนั่นเอง
Apple เองนั้นให้คำจำกัดความของ iBeacon ว่าเป็น “เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการ extend เรื่องของการบอกพิกัดตำแหน่งใน iOS” ซึ่งตรงนี้เอง Apple ก็ได้กำหนดมาตรฐานและกฏเกณฑ์ในการเชื่อมต่อของมันขึ้นมา ผลที่ได้คือกลายมาเป็นโปรโตคอลในการติดต่อและบอกตำแหน่งพร้อมส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งตรงนี้จะต้องรับสัญญาณจากตัวอุปกรณ์ผ่านทาง bluetooth 4.0 เรียกได้ว่าในยุคนั้น Apple ได้เปลี่ยนโลกของเทคโนโลยีไปอีกขึ้นเลยทีเดียว
แนวคิดพื้นฐานของ iBeacon
เพื่อให้เข้าใจว่าการทำงานของ iBeacon คือยังไง เราจึงจะอธิบายถึงประโยชน์ฟังกันก่อน หากเรายังจำกันได้ดีในยุคก่อนๆนั้น เราจะคุ้นเคยกันดีกับการที่ได้รับข้อความเข้ามาในโทรศัพท์ เมื่อเข้าไปในเขตพื้นที่หนึ่งที่ทางงานอีเว้นท์ต้องการประชาสัมพันธ์อะไรสักอย่าง หากใครเคยไปงาน commart หรืองาน mobile expo น่าจะพอจำกันได้ดี ทีนี้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีก็ทำให้พบเจอกับปัญหาที่ว่าการระบุตำแหน่งนั้นทำได้คร่าวๆ หากต้องการทำเรื่องเช็คอินตามสถานที่เพื่อรับโปรโมชั่นต่างๆย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาแน่
เทคโนโลยีของ iBeacon หลังจากที่เกิดขึ้นมาเลยก็เลยทำให้การระบุตำแหน่งเป็นไปได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม ผ่านทางเจ้าตัวอุปกรณ์ beacon นั่นเอง และยังเกิดประโยชน์อย่างมากมายสำหรับการต่อยอดใช้งาน เช่นสำหรับห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆก็สามารถส่งโปรโมชั่นต่างๆของร้านได้ เพียงแค่ลูกค้าเดินเข้ามาในบริเวณร้าน หรือการที่มีแอปพลิเคชันเช็คอินต่างๆที่ความแม่นยำสูงจากการเช็คอินร่วมกับตัว beacon และความพิเศษก็คือเทคโนโลยีนี้ไม่ได้จำกัดแค่การใช้ภายในอาคาร หากต้องมี event กลางแจ้งต่างๆ ก็ยังสามารถเอาเจ้าตัว beacon ตัวนี้ไปติดไว้เพื่อระบุตำแหน่งได้อย่างง่ายดาย
สรุปเรื่อง Beacon
หลังจากที่คุณผู้อ่าน อ่านถึงตรงนี้เราก็มั่นใจว่าทุกท่านน่าจะพอแยกแยะความแตกต่างของทั้ง iBeacon และ Beacon ออกจากกันได้เรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ดีขอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ ตัวบีคอนเองนั้นหากทุกท่านยังไม่เคยเห็นส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะคล้ายๆก้อนหิน โดยมากมักจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถติดตั้งได้ง่าย ภายในตัวของบีคอนนั้นก็จะมีในเรื่องของอุปกรณ์ส่งสัญญาณ processor และมักจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในการส่งสัญญาณนั่นเอง ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ beacon นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องทำทุกอย่างได้ตรงกับข้อกำหนดของ iBeacon
ทบทวนความแตกต่าง
ดูเผินๆแล้วความสับสนที่เกิดขึ้นระหว่าง iBeacon และ beacon สาเหตุน่าจะเกิดจาการที่มีชื่อที่เหมือนกันซะมากกว่า แต่หากกล่าวโดยสรุปแล้วตัว iBeacon นั้นจริงๆคือมาตรฐานของการใช้งานและ ecosystem ทั้งหมดของเทคโนโลยีนี้ที่ถูกกำหนดโดย Apple ซึ่งสุดท้ายแล้วต้องทำงานผ่านตัวของ beacon ที่เป็นตัวผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งที่รองรับการส่งสัญญาณและอาจจะรองรับหรือไม่รองรับ iBeacon technology ก็เป็นได้
ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog: www.empeo.com/blog
Facebook: www.facebook.com/myempeo
Youtube: www.youtube.com/empeo